ผู้นำแก้ไขปัญหาอากาศร้อน ระบบประหยัดพลังงานรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงงาน
092-2605140
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
มาสเตอร์คูล ผู้เชียวชาญแก้ไขปัญหาปัญหาอากาศร้อน ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาอากาศร้อนในโรงงานด้วยระบบอีแวป ระบายอากาศ ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาสเตอร์คูล ผู้เชียวชาญแก้ไขปัญหาปัญหาอากาศร้อน ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาอากาศร้อนในโรงงานด้วยระบบอีแวป ระบายอากาศ ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาสเตอร์คูล ผู้เชียวชาญแก้ไขปัญหาปัญหาอากาศร้อน ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาอากาศร้อนในโรงงานด้วยระบบอีแวป ระบายอากาศ ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เอลนีโญ

เอลนีโญ “สายลมร้อน” เตรียมรับปีที่โลกจะร้อนที่สุด เท่าที่เคยมีมา

      เริ่มขึ้นแล้ว! ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” ในมหาสมุทรแปซิฟิกส่งผลให้ปี 2024 ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ของโลก อากาศแปรปรวน

      ปรากฎการณ์เอลนีโญ กำลังเริ่มต้นขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเเล้ว อุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้นภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคาดการณ์ว่า ปี ค.ศ. 2024 จะเป็นปีที่ร้อนที่สุดของโลก องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศในช่วงที่ผ่านมาและมีการคาดการณ์เอาไว้ว่านับตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไปประเทศที่อยู่ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ด้วยการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก จึงทำให้ในช่วงเวลานับจากนี้ไปอย่างน้อย 2-3 ปี ข้างหน้าจะเกิดเหตุการณ์ฝนทิ้งช่วง ฝนฟ้าไม่ตกตามฤดูกาล และที่สำคัญความร้อน และสภาพความแห้งแล้งจะมีความรุนแรงมากขึ้น กว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

เอลนีโญ
เอลนีโญ (El Nino) คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร?

      จริงๆ แล้ว “เอลนีโญ-ลานีญา” เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ โดยอาจจะเกิดขึ้นทุกๆ 3-4 ปี สลับหมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ โดยช่วง 2-3 ปีก่อนหน้านี้ โลกเราเพิ่งจะผ่านพ้นสภาพอากาศแบบลานีญา ไปหมาดๆ มาปีนี้เรากำลังจะเข้าสู่สภาพอากาศแบบเอลนีโญ ซึ่งส่งผลให้เกิด “ภัยแล้ง” ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย ในสภาวะปกติของมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ จะมี “กระแสลมในมหาสมุทรแปซิฟิก” พัดจากทิศตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก (ชายฝั่งประเทศเปรู ทวีปอเมริกาใต้) ไปทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก (อินโดนีเซียและออสเตรเลีย) เป็นสภาพอากาศที่สมดุลทั้งกระแสลมและกระแสน้ำอุ่นในทะเล แต่ถ้าปีไหนเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ จะพบว่ามหาสมุทรแปซิฟิกมีความกดอากาศและอุณหภูมิที่ผิดปกติไปจากเดิม ทำให้ “กระแสลมในมหาสมุทรแปซิฟิก” อ่อนกำลังลง เกิดกระแสลมเปลี่ยนทิศเป็นตรงกันข้าม คือ พัดจากทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก (อินโดนีเซียและออสเตรเลีย) ไปทางทิศตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก (ชายฝั่งประเทศเปรู ทวีปอเมริกาใต้) เมื่อกระแสลมเปลี่ยนทิศ ก็ทำให้ “กระแสน้ำอุ่น-น้ำเย็น” แปรปรวนและไหลผิดทิศทางไปด้วย

      เอลนีโญก่อให้เกิดสภาพอากาศเลวร้าย อย่างเช่น อุทกภัย ภัยแล้ง หรือการรบกวนสภาพอากาศในหลายภูมิภาคของโลก ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีเศรษฐกิจเน้นเกษตรกรรมและการประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ได้รับผลกระทบมากที่สุด ปรากฏการณ์นี้ทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และก่อให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนเหนือของออสเตรเลีย

ผลกระทบของความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรม มีผลต่อหลายด้านของการดำเนินงาน และกระบวนการผลิต
  • ประสิทธิภาพการผลิต: ความร้อนสูงทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ในโรงงานทำงานไม่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เครื่องจักรอาจมีการทำงานช้าลงหรือต้องหยุดเพื่อระบายความร้อน นี่อาจส่งผลต่อผลผลิตของโรงงานและสามารถทำให้เสียหายทางการเงิน
  • ความปลอดภัย: ความร้อนสูงอาจเสี่ยงต่อความปลอดภัยในโรงงาน เช่น อาจมีความเสี่ยงในการระบายความร้อนเครื่องจักรหรือการออกซิเดชันของสารเคมีที่เกิดขึ้นในอุณหภูมิสูง นอกจากนี้ ความร้อนก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของพนักงาน
  • พนักงาน: การทำงานในอุณหภูมิสูงสามารถมีผลต่อสุขภาพของพนักงาน เช่น ความร้อนสามารถทำให้พนักงานประสบกับโรคความร้อนหรือความเสี่ยงต่ออาการเจ็บปวดเนื่องจากความร้อนมาก
  • พลังงาน: การรักษาอุณหภูมิที่เหมาะสมในโรงงานอาจต้องใช้พลังงานมากขึ้น เช่น การใช้ระบบระบายความร้อนหรือระบบควบคุมอุณหภูมิ
  • สิ่งแวดล้อม: การใช้ความร้อนสูงในโรงงานอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การปล่อยก๊าซเสียหรือสารเคมีที่มีความร้อนมากที่มีผลต่อคุณภาพอากาศหรือสิ่งแวดล้อมใกล้เคียง
  • การบำรุงรักษา: ความร้อนสามารถเพิ่มความเสียหายให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ทำให้ต้องทำการบำรุงรักษาบ่อยขึ้นและเพิ่มความเสียหายในระยะยาว
  • การระบายความร้อน: การระบายความร้อนออกจากโรงงานอาจทำให้เกิดการปล่อยความร้อนเข้าสู่อากาศและเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาความร้อนในพื้นที่ใกล้เคียง
ไทยเริ่มต้นเอลนีโญกำลังปานกลาง

      รายงานสถานการณ์ล่าสุดของกรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า การเฝ้าระวังปรากฏการณ์เอลนีโญ เดือน ก.ย. นี้ พบว่าปรากฏการณ์เอนโซ อยู่ในสภาวะเอลนีโญกําลังปานกลาง

      ไทยเข้าสู่ช่วงเอลนีโญกำลังปานกลาง และจะพีคสุดเดือน พ.ย. 2566 ถึง ม.ค. 2567 โดยคาดการณ์ฝนน้อยกว่าค่าปกติ 14% โดยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย คาดว่าในช่วงเดือน ก.ย. – พ.ย. นี้ ปริมาณฝนในไทยมีค่าต่ำกว่าค่าปกติเล็กน้อย ส่วนอุณหภูมิจะสูงกว่าค่าปกติเล็กน้อย

https://www.masterkool.com/ดูข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมที่นี่ และช้อปสินค้า Masterkool ได้ที่

Leave A Comment

X