ผู้นำแก้ไขปัญหาอากาศร้อน ระบบประหยัดพลังงานรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงงาน
092-2605140
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
มาสเตอร์คูล ผู้เชียวชาญแก้ไขปัญหาปัญหาอากาศร้อน ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาอากาศร้อนในโรงงานด้วยระบบอีแวป ระบายอากาศ ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาสเตอร์คูล ผู้เชียวชาญแก้ไขปัญหาปัญหาอากาศร้อน ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาอากาศร้อนในโรงงานด้วยระบบอีแวป ระบายอากาศ ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาสเตอร์คูล ผู้เชียวชาญแก้ไขปัญหาปัญหาอากาศร้อน ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาอากาศร้อนในโรงงานด้วยระบบอีแวป ระบายอากาศ ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

โรคฝีดาษลิง

โรคฝีดาษลิง

      โรคฝีดาษลิง ฝีดาษวานร หรือ Monkeypox เกิดจากเชื้อไวรัส Othopoxvirus ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับไวรัสโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) โดยพบเชื้อในสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระแต เป็นหลัก ซึ่งพบโรคนี้ครั้งแรกเกิดจากลิงในห้องทดลอง จึงเรียกว่าฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานรนั่นเอง

      โรคฝีดาษลิงแพร่ระบาดอยู่ทั่วไปในทวีปแอฟริกา จนกลายเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic disease) เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง และมีความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ แต่มักพบในเด็กเล็กเป็นส่วนใหญ่

ติดต่อได้อย่างไร ?
สัตว์สู่คน,โรคฝีดาษลิง

      สัตว์สู่คน สามารถติดต่อได้จากสัตว์กัดแทะทุกชนิด โดยติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง น้ำหนอง ตุ่มหนองของสัตว์ ผื่นสัตว์ การถูกสัตว์ติดเชื้อกัดหรือข่วน การรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์ติดเชื้อ และปรุงไม่สุก

คนสู่คน,โรคฝีดาษลิง

      คนสู่คน โดยการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งอย่าง ไอ จาม ผื่น ตุ่มหนอง น้ำหนอง สิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อของผู้ป่วย ซึ่งมักมาจากการใช้ของร่วมกันกับผู้ป่วย

อาการของผู้ติดเชื้อ

      จากสถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก ยังไม่พบผู้ป่วยโรคไข้ฝีดาษลิงที่มีอาการรุนแรง โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยจะสามารถหายจากโรคได้เอง ในระยะเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ในกรณีที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีโรคประจำตัว จะมีการรักษาโดยใช้ยา Tecovirimat, Cidofovir, Brincidofovir ซึ่งเป็นยากลุ่มเดียวกันกับที่ใช้รักษาโรคไข้ทรพิษ

      อาการของโรคจะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 7-14 วัน

มีไข้,โรคฝีดาษลิง

1. มีไข้ อาจเกิดขึ้นขณะเป็นผื่น ก่อนเป็นผื่น หรือหลังเป็นผื่น และในผู้ป่วยบางรายก็ไม่มีไข้เลย

อ่อนเพลีย,โรคฝีดาษลิง

2. อ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง

ปวดหัว,โรคฝีดาษลิง

3. ปวดศีรษะ และปวดกระบอกตา

ปวดเมื่อย,โรคฝีดาษลิง

4. ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตัว ปวดหลัง

ต่อมน้ำเหลืองโต,โรคฝีดาษลิง

5. ต่อมน้ำเหลืองโต ถือเป็นจุดเด่นที่สังเกตได้ของโรคไข้ฝีดาษลิง สามารถเกิดขึ้นได้ตามจุดต่างๆ ของร่างกาย เช่น คอ ไหปลาร้า ข้อศอก รักแร้ เป็นต้น

ผื่น_ฝีดาษลิง

6. มีผื่น ตุ่มหนอง โดยลักษณะของผื่นจะเริ่มจาก จุดแดงๆ กลมๆ หลังจากนั้นผื่นจะกลายเป็น ตุ่มน้ำใส และ กลายเป็นตุ่มหนอง และกลายเป็นสะเก็ด ในเวลาต่อมา

การรักษา และดูแลผิวหนังหลังติดเชื้อฝีดาษลิง
  • 1. ในกรณีที่ไม่ได้รักษา โดยธรรมชาติของโรคแล้ว จะหายได้เองภายใน 2-4 สัปดาห์

    2. การรักษาโรคฝีดาษลิง เป็นการรักษาแบบประคับประคอง

    3. การดูแลผิวหนังที่ติดเชื้อฝีดาษลิง งดแกะหรือเกาที่ผื่น รักษาความสะอาดของผิวหนังไม่ให้อับชื้น ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ ทุกครั้งก่อนและหลังสัมผัสผื่น ทำความสะอาดผื่นด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ ควรเปิดผื่นให้ระบายอากาศได้ ไม่ควรปิดให้มิดชิด และหากผื่นมีอาการปวด บวมแดง หรือเป็นหนอง แนะนำให้รีบพบแพทย์

ใครที่เสี่ยงเป็นโรคฝีดาษลิงบ้าง
  • 1. ผู้ที่ทำงานในสวนสัตว์

    2. ผู้ที่ทำงานในร้านขายสัตว์เลี้ยง

    3. ผู้ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีลิงหรือสัตว์อื่นๆ อาศัยอยู่

    4. ผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่โรคฝีดาษลิงกำลังระบาดอย่างหนัก

วิธีดูแล และป้องกันตัวเองเบื้องต้น
ล้างมือ_ฝีดาษลิง
  • 1. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์ หลังจากสัมผัสสัตว์เลี้ยง หรือสิ่งของต่าง ๆ

หลีกเลี่ยง,โรคฝีดาษลิง
  • 2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะ และผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อ

ปรุงสุก
  • 3. กินเนื้อสัตว์ปรุงสุก หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ

สวมหน้ากากอนามัย
  • 4. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงการแพร่ระบาด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่

ดูข้อมูลของเครื่องฆ่าเชื้อโรคที่นี่ และช้อปสินค้า Masterkool ได้ที่

Leave A Comment

X