ผู้นำแก้ไขปัญหาอากาศร้อน ระบบประหยัดพลังงานรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงงาน
092-2605140
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
มาสเตอร์คูล ผู้เชียวชาญแก้ไขปัญหาปัญหาอากาศร้อน ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาอากาศร้อนในโรงงานด้วยระบบอีแวป ระบายอากาศ ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาสเตอร์คูล ผู้เชียวชาญแก้ไขปัญหาปัญหาอากาศร้อน ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาอากาศร้อนในโรงงานด้วยระบบอีแวป ระบายอากาศ ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาสเตอร์คูล ผู้เชียวชาญแก้ไขปัญหาปัญหาอากาศร้อน ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาอากาศร้อนในโรงงานด้วยระบบอีแวป ระบายอากาศ ประหยัดพลังงาน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
โรคที่พบบ่อยช่วงฤดูฝน

โรคที่พบบ่อยช่วงฤดูฝน

      พอเริ่มเข้าช่วงฤดูฝน อากาศเริ่มเย็นลง ความชื้นก็เพิ่มขึ้น ทำให้เชื้อโรคสามารถแพร่ระบาดได้ง่าย  และรวดเร็ว หากใครที่ไม่ดูแลสุขภาพให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย ก็อาจทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้บางคนมีโอกาสเป็นโรคบ่อยขึ้น โรคที่พบบ่อยช่วงฤดูฝน ได้แก่          

โรคที่พบบ่อยช่วงฤดูฝน
1. โควิด-19 

เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาซาร์โควี-2 (SAR-CoV-2) สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับละอองที่ถูกปล่อยออกมาเมื่อผู้ติดเชื้อ ไอ จาม พูดคุย นอกจากนี้ยังสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสพื้นผิวที่เชื้อปนเปื้อน แล้วนำมาแตะตา จมูก หรือปาก เช่น โทรศัพท์ โต๊ะ ลูกบิดประตู ราวจับ ฯลฯ บางคนอาจไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย ในขณะที่บางคนมีอาการรุนแรง และอาจเสียชีวิตได้

โควิด
อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้
  • อ่อนเพลีย
  • ไอ
  • มีไข้
  • เจ็บคอ
  • มีน้ำมูก
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
  • หอบเหนื่อย

วิธีป้องกัน และดูแลตัวเองเบื้องต้น

ควรล้างมือบ่อยๆ และสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่ต้องพบปะผู้คน เมื่อต้องออกจากบ้าน หรืออยู่ในพื้นที่แออัด 

โรคที่พบบ่อยช่วงฤดูฝน,ไข้หวัดใหญ่
2. ไข้หวัดใหญ่  

เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ ที่เกิดจากไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) สามารถแพร่กระจายได้ง่าย ผ่านการสัมผัสเชื้อไวรัสจากละอองฝอยในอากาศ เมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือ พูดคุย คนทั่วไปอาจสูดรับเชื้อโรคทางลมหายใจ หรือสัมผัสเชื้อที่ติดอยู่บนพื้นผิวของวัตถุ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือคีย์บอร์ด

อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้
  • มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออก
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • มีน้ำมูก จาม
  • เจ็บคอ ไอแห้ง
  • อาจมีอาการหอบเหนื่อย
  • อาจมีไข้สูงแล้วชัก หรือซึมได้
วิธีป้องกัน และดูแลตัวเองเบื้องต้น

ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการเอามือเข้าปาก หรือขยี้ตา อย่าใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นๆ เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด เมื่อเวลาเจ็บป่วยให้พักที่บ้าน เวลาไอ หรือจามให้ใช้ผ้าปิดปาก และจมูก 

3. อาหารเป็นพิษ 

เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส สารเคมี รวมถึงอาหารที่ปรุงสุกๆดิบๆ  หรือผ่านมาทางผู้ป่วยที่สามารถแพร่เชื้อได้เป็นผู้ปรุงอาหารโดยไม่ได้ล้างมือทำให้มีการปนเปื้อนของเชื้อในอาหาร นอกจากนี้เชื้อยังสามารถส่งผ่านจากอาหารชนิดหนึ่งไปยังอีกชนิดหนึ่งผ่านทางอุปกรณ์ที่ใช้เช่น เขียง หรือมีด ที่ใช้ร่วมกัน

โรคที่พบบ่อยช่วงฤดูฝน,อาหารเป็นพิษ
อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้
  • ท้องร่วง  
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • อ่อนเพลีย
  • มีไข้ ปวดศีรษะร่วมด้วย
  • ปวดเมื่อยตามตัว
วิธีป้องกัน และดูแลตัวเองเบื้องต้น

การรับประทานอาหารควรยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” หลีกเลี่ยงอาหารที่เสียง่าย หรือไม่สุก เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางอาหาร และน้ำ ซึ่งจะเป็นการป้องกันอาหารเป็นพิษได้ ที่สำคัญควรล้างมือให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง

โรคที่พบบ่อยช่วงฤดูฝน,ตาแดง
4. ตาแดง

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย ส่วนใหญ่ติดต่อจากการสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง เช่น สัมผัสสิ่งของที่ผู้ป่วยสัมผัส และจากการหายใจหรือไอจามรดกัน หรืออาจเกิดจากโรคภูมิแพ้ ทำให้มีอาการคันตา ขยี้ตาจนตาอักเสบ และติดเชื้อ เชื้อโรคแพร่ระบาดได้ตามสถานที่ที่มีผู้คนอยู่ร่วมกันมากๆ เช่น สถานีรถไฟฟ้า รถโดยสาร โรงพยาบาล โรงเรียน และมักพบในกลุ่มเด็กมากกว่าผู้ใหญ่

อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้
  • ตาแดง
  • มีน้ำตาไหล
  • เคืองตา
  • ปวดเล็กน้อยในเบ้าตา
  • เปลือกตาบวม อาจพบตุ่มเล็กๆ กระจายอยู่
  • กรณีที่ติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย จะมีขี้ตามาก
วิธีป้องกัน และดูแลตัวเองเบื้องต้น

หมั่นล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือขยี้ตา ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ทางดวงตาร่วมกับผู้อื่น ใช้ผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าเช็ดตัวที่สะอาด และหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำท่วมขัง หรือน้ำสกปรก ระวังไม่ให้น้ำกระเด็นเข้าตา หากสัมผัสแล้ว ให้รีบทำความสะอาด หรืออาบน้ำทันที

5. ไข้เลือดออก

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue viirus) ไวรัสเดงกีมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 DENV-4 โดยมียุงลายเป็นพาหะ มีระยะอาการทั้งหมด 3 ระยะ คือ ระยะแรก ระยะวิกฤต และระยะฟื้นตัว มักพบบ่อยในฤดูฝน โดยเฉพาะในพื้นที่ร้อนชื้น เช่น ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้
  • ปวดเมื่อยตามตัว หรืออาจปวดกระดูกมาก
  • ไข้สูง 2-7 วัน จากนั้นไข้จะลดลง
  • อ่อนเพลีย
  • อาจเกิดภาวะเลือดออกมากกว่าปกติ
  • อาจมีอาการมือเท้าเย็น หรือช็อคได้
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีจุดเลือดตามตัว
  • อาจถ่าย หรืออาเจียนเป็นเลือด
วิธีป้องกัน และดูแลตัวเองเบื้องต้น

การป้องกันที่ดีที่สุด คือการกำจัดและหลีกเลี่ยงการถูกยุงลายกัด โดยทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ใช้สารเคมีพ่นกำจัด ป้องกันการถูงยุงกัด โดยจุดยากันยุง ทาโลชันกันยุง ปกป้องร่างกายด้วยเสื้อผ้าแขนยาว ขายาว หรือเลือกใช้พัดลมไอเย็นที่มีฟังก์ชันไล่ยุงในตัว

โรคที่พบบ่อยช่วงฤดูฝน,ฉี่หนู
6. ฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)

เป็นโรคที่สามารถพบได้ในฤดูฝนหรือในสภาวะที่มีน้ำขังหรือน้ำท่วม เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Leptospira spp. ที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์พาหะอย่างหนู สุนัข สุกร ม้า เป็นต้น เชื้อสามารถเข้าทางผิวหนังที่มีแผลเปิด หรือแผลเล็กๆได้ เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ติดเชื้อได้จากการสัมผัสดิน น้ำ อาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีเชื้อ

อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้
  • ไข้สูงเฉียบพลัน
  • ปวดศีรษะ
  • หนาวสั่น
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่อง และโคนขาอย่างรุนแรง
  • ตาแดง ระคายเคืองตา
วิธีป้องกัน และดูแลตัวเองเบื้องต้น

เลี่ยงการเดินลุยน้ำท่วม ย่ำโคลน เพราะอาจปนเปื้อนเชื้อจากสัตว์นำโรค หากจำเป็นต้องลุยน้ำท่วมให้สวมรองเท้าบู้ตทุกครั้ง และอย่าให้บาดแผลสัมผัสน้ำที่ไม่สะอาด แต่หากสัมผัสน้ำที่อาจปนเปื้อนไปแล้ว ให้ล้างทำความสะอาดร่างกายโดยเร็ว และเช็ดให้แห้ง

นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆ ที่อาจพบในฤดูฝนขึ้นอยู่กับพื้นที่ และอากาศท้องถิ่น อย่างเช่น ไข้เจ็บคอ โรคของหู จมูก คอ และเสมหะ โรคผิวหนัง ปอดบวม โรคมือ เท้า ปาก เป็นต้น

      ในช่วงฤดูฝนจึงควรระวัง และดูแลสุขภาพในฤดูฝนอย่างเคร่งครัด เช่น สวมหมวกหรือใส่เสื้อเสื้อกันฝนในขณะที่ฝนตก ควรรักษาความสะอาดของร่างกายและสภาพอากาศในบริเวณรอบๆ โดยอาจใช้ตัวช่วยอย่างเครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ เครื่องฟอกอากาศ หรืออาจจะเลือกใช้พัดลมไอเย็นที่มีฟังก์ชันไล่ยุงในตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการโดนยุงกัด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหากมีอาการผิดปกติหรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจและรับการรักษาที่เหมาะสม          

ช้อปสินค้า Masterkool ได้ที่

Leave A Comment

X